• Home
  • สาระน่ารู้

บทความ สาระน่ารู้ มีประโยชน์

SUPREMELINES CO.,LTD

การควบคุมแบบอัตโนมัติ (Automatic Control) การแก้ไขให้ระบบวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมคัปเปิลให้ทำงานได้ดีขึ้น
เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หลักการวัดความต้านทานดิน Earth Ressistivity Measurement
เครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศ คือ "บาโรมิเตอร์ (Barometer)" เครื่องตรวจจับความเคลื่อนไหว คืออะไร
ฮีตเตอร์อินฟราเรด Infrared Heater หลักการเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพความร้อน
พร็อกซิมิตี้สวิตช์ Proximity Switches เอ็นโค้ดเดอร์ในงานอุตสาหกรรม
โฟโต้สวิตช์ (Photo Switch) คืออะไร ทฤษฏี Flow Meter
โซลิดสเตตรีเลย์ คืออะไร และมีกี่ชนิด? คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors)
การป้องกันระบบไฟฟ้า แรงดัน-กระแส-ความถี่ ขาด/เกิน อัลตราโซนิค เซนเซอร์ (Ultrasonic Sensors)

หลักการเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพความร้อน

THERMAL IMAGING CAMERA


กล้องถ่ายภาพความร้อน อาศัยหลักการทำงานของรังสีอินฟราเรด โดยกล่าวความเป็นมาของรังสีพอสังเขปได้ดังต่อไปนี้ รังสีอินฟราเรด (Infrared, IR) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Sir Frederick William Herschel ตัวเขาเองเกิดที่ประเทศเยอรมัน พอเติบโตก็ได้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่ประเทศอังกฤษนับแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งได้ค้นพบรังสีอินฟราเรดสเปกตรัม (Infrared Spectrum) ในปี ค.ศ.1800 โดยทำการทดลองวัดอุณภูมิของแถบสีต่างๆ ที่เปร่งออกมาเป็นสีรุ้งจากปริซึม และพบว่าอุณภูมิจะเพิ่มขึ้นตามลำดับและสูงสุดที่แถบสีสีแดง ในความเป็นจริงนั้นการที่เขาเลื่อนเทอร์โมมิเตอร์จากแถบสีที่ไม่สว่างไปยังแถบสี สีแดงซึ่งเป็นแถบสีที่สิ้นสุดของสเปกตรัมและอุณภูมิสูงขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งขอบเขตดังกล่าวนี้เรียกว่า "อินฟราเรด" มีขอบเขตที่ต่ำกว่าแภบสีแดงหรือ รังสีใต้แดง แสดงดัง รูปที่ 2

Sir Frederick William Herschel ขอบเขตดังกล่าวนี้เรียกว่า "อินฟราเรด"
รูปที่ 1 รูปที่ 2

ความยาวคลื่นและสเปกตรัมของรังสีต่างๆ (Wavelength and Electromagnetic Spectrum)

ความยาวคลื่นของรังสีต่างๆ นั้นได้แสดงไว้ดังรูปที่ 2 แล้วจะเห็นได้ว่ารังสีอินฟราเรด (IR) จะมีความยาวคลื่นตั้งแต่ 0.7 um จนถึง 1000 um จะแบ่งย่อยเป็นช่วงของความสำคัญตามด้านล่าง กล้องถ่ายภาพความร้อนโดยทั่วไปแล้ว จะใช้ช่วงความยาวคลื่นอยู่ที่ Long Wave เพราะราคาถูก ส่วนแบบ Shot Wave จะมีราคาสูงเนื่องจากใช้งานเฉพาะด้าน เช่น ตรวจวัดการรั่วไหลของแก๊ส LPG ใช้วัดทะลุสิ่งทึบถังบรรจุหรือดูสารของเหลวที่อยู่ภายในสิ่งทึบได้

  1. ช่วง Near IR ความยาวคลื่น 0.7 µm จนถึง 1.7 µm
  2. ช่วง Shot Wave (Mid Wave) ความยาวคลื่น 2 µm จนถึง 5 µm
  3. ช่วง Long Wave ความยาวคลื่น 7.5 µm จนถึง 14 µm
  4. ช่วง Extreme Infrared ความยาวคลื่น 15 µm จนถึง 1000 µm

กฏของสเตฟราน (Stefan-Boltzmann's Law)

(W/mการคำนวณการแผ่รังสีพลังงานความร้อน
W = σT(W/m2) สำหรับ Black Body
W = ∑σT(W/m2) สำหรับ Real Body

การแผ่พลังงานรังสีอินฟราเรดของวัตถุ

การแผ่พลังงานรังสีอินฟราเรดของวัตถุ

รูปที่ 3 แสดงการถ่ายเทพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ของวัตถุในรูปแบบรังสีอินฟราเรด จะได้สมการดังนี้ r + t + a = 1

กฏของ Kirchhoff's Law of Themal Radiation E = a

เมื่อวัตถุอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่สมดุล การแผ่พลังงานของรังสีอินฟราเรดของวัตถุจะมีค่าเท่ากับปริมาณที่ดูดกลืน เป็นผลให้วัตถุที่สามารถดูดกลืนรังสีได้ดีก็จะแผ่รังสีได้ดีด้วย
a = (Absorptivity) ความสามารถดูดกลืนรังสีของวัตถุ
E = (Emissivity) ความสามารถการแผ่รังสีของวัตถุ 

เอ็นโค้ดเดอร์ในงานอุตสาหกรรม


เอ็นโค้ดเดอร์ในงานอุตสาหกรรม

เอ็นโค้ดเดอร์ คือ เซ็นเซอร์สำหรับวัดระยะทาง และวัดความเร็วในงานอุตสาหกรรมซึ่งสามารถแบ่งได้ตามลักษณะการใช้งานได้ 2 แบบ คือ.

  1. Increment Encoder
  2. Absollute Encoder

Increment Encoder

เป็นเอ็นโค้ดเดอร์ที่มีใช้งานอยู่ทั่วไปในโรงงานอุตสาหกรรม ภายในเซ็นเซอร์จะประกอบไปด้วย

  1. Disk คือ แผ่นจานหมุนซึ่งติดอยู่กับเพลาหมุนที่ต้องการจะตรวจวัดระยะจัดเชิงมุม แผ่นจานหมนจะถูกเจาะให้เป็นร่องโดยจะเรียกว่า Window จะเป็นตัวระบุ Pulse Per Revolution (P/R) เช่นบนแผ่นจานหมุนมีช่อง 12 ช่อง ก็คือ 12 P/R หรือมี 250 ช่อง ก็คือ 250 P/R
  2. LED (Light Emitting Diode) And Sensor โดยจะมี LED เป็นแหล่งกำเนิดแสง และชุด Senser ตรวจจับแสง เมื่อมีการตรวจจับแสงเกิดขึ้นก็จะส่งเป็น Output ออกมา โดยจะแบ่งเป็นชุด A, B และ Z (หรือ O บางรุ่น) และในบางรุ่นจะมีสัญญาน Output แบบ Inverse ซึ่งจะเป็นแบบ A B และ C รวมอยู่ด้วย
  3. Mask คือ ช่องที่ทำการแยกช่องสัญญานพัลส์ ของ Phase A, B, และ Z หลักการทำงาน คือ เมื่อแกนของเอ็นโค้ดเดอร์หมุนจะทำให้เกิดลูกคลื่นพัลส์สี่เหลี่ยม ซึ่งจำนวนพัลส์เอาต์พุตที่ได้จะมีความสัมพันธ์กับจำนวนพัลส์ต่อรอบ เช่น 500 พัลส์ต่อรอบ คือ เมื่อหมุนแกนเอ็นโค้ดเดอร์ไป 1 รอบ จะให้พัลส์เอาต์พุตออกมา 500 ลูก เราสามารถใช้ความสัมพันธ์นี้ไปคำนวณหาความเร็ว และระยะทางการหมุนได้

LED (Light Emitting Diode) And SensorMask

อ่านต่อ..

ทฤษฏี FLOW METER


Electronmagnetic Flow Meter (เครื่องวัดอัตราการไหลแบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) Flow Meter ชนิดนี้ก็คือ การนำกฏ "Faraday" มาใช้เมื่อของเหลวที่นำไฟฟ้าได้ไหลผ่าน สนามแม่เหล็กจะเหนี่ยวนำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าในแนวตั้งฉากกับทอศทางของสนามแม่เหล็ก โดยค่า EMF (Electronmagnetic Flow Rate หรือ Q) จะแปรผันตรงกับความเร็วของการไหลของของเหลว

เครื่องวัดอัตราการไหลแบบสนามแม่เหล็กไฟฟ้า Flow Meter

จะเห็นได้ว่า Voltage (แรงเคลื่อนไฟฟ้า) ที่เกิดขึ้น จะสัมพันธ์กับความหนาแน่นของ สนามแม่เหล็ก, ขนาดของท่อและความเร็วของอัตราไหลโดยที่ค่า Density และ Viscosity (ความหนืด) ของเหลวไม่มีผลต่อการวัดใดๆ เลย โดยที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นขณะมีของเหลวไฟลผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสามารถหาได้จากสมการ Um = BLV โดยที่

  • U = แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
  • B = ความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก
  • L = ระยะห่างระหว่างอิเล็กโตรด
  • d = เส้นผ่าศูนย์กลางภายในท่อ
  • V = ความเร็วเฉลี่ยของของเหลว
  • Q = AV = (3.14d↓2/4) V

ดังนั้น U = 4QB/3.14d


ส่วนประกอบของ Electron Flow Meter

ส่วนประกอบของ Electron Flow Meter

  • ตัวสร้างสนามแม่เหล็กมีอยู่ 2 ชนิดคือ Permannent Magnetic ( แม่เหล็กถาวร) และ Electronmagnetic ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กให้ Flow Meter
  • Coil Drive สร้างพลังงานให้ Magnetic Coil
  • โครงเครื่องทำจากโลหะที่มี Line (ฉนวน) บุอยู่ภายใน
  • ขั้ว Electrode จะติดตั้งอยู่ด้านในของท่อ Flow Meter ติดตั้งทำมุม 180° ต่อกัน ทำหน้าที่ตรวจจับ Induce Voltage ที่เกิดขึ้นจากการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก
  • Converter และ Display ทำหน้าที่แปลงสัญญานจาก Electrode เป็นค่าอัตราการไหล - ปริมาณการไหล และส่งสัญญานเอาต์พุต 4 - 20mADC และ Pluse ออกมาให้เอาไปใช้งานต่อ

สภาวะที่เหมาะสมแก่การใช้งาน

  • ของเหลวที่ต้องการวัดต้องมีค่าความนำไฟฟ้า (Conductivity) มากกว่า 5 uS เท่านั้น
  • ของเหลวควรไหลเต็มท่อตลอดเวลาจึงจะได้ผลแม่นยำ Flow Meter แต่ละรุ่นจะมีย่านวัดบอกเป็นค่ามาตราฐานอยู่ ท่านสามรถเลือกได้
  • ของเหลวที่มีการกัดกร่อนหรือตะกอนผสมอยู่ก็สามารถใช้งานได้เพียงแต่จะต้องเลือกประเภทของวัสดุที่ใช้ทำ Line และ Electrode ให้เหมาะสมกับของเหลวที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
  • ของเหลวที่มีอุณหภูมิสูงสามารถใช้ได้ (ควรดูค่า Maximum Temp สูงสูดที่ Flow Meter รุ่นนั้นๆทนได้ประกอบด้วย
  • ตำแหน่งของการติดตั้งควรอยู่ในตำแหน่งด้าน Discharge ของปั๊มและควรติดตั้งในแนวท่อตรง ซึ่งปราศจากวาล์วหรือข้องอ อย่างน้อย 5 เท่าของขนาดท่อ ก่อนนำของเหลวไหลเข้า Flow Meter และทางด้านหลัง 3 เท่าของขนาดท่อ หรือเรียกง่ายๆว่า "หน้า 5 หลัง 3" นั่นเอง
  • กรณีจะติดตั้ง Flow Meter ในแนวตั้งควรติดตั้งบนท่อแนวนอนที่มีการไหลไหลขึ้นเท่านั้น ส่วนหากต้องการติดตั้งแนวนอนสามารถติดตั้งได้โดยไม่มีข้อจำกัดใดๆเลย
  • Flow Meter ชนิดนี้ ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนที่ใดๆภายใน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา มีความแม่นยำ Accuracy ตั้งแต่ 0.25 - 0.5% Full Scale ซึ่งสูงมากและแม่นยำ สามารถวัดโดยการนำของเหลวมาตวงได้เลย

คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors)


คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซนเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors)

รูปคาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors)

คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors) เป็นเซนเซอร์ที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของค่าคาปาซิแตนซ์ โดยการสร้างสนามไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งต่างจากอินดักทีฟ เซนเซอร์(Inductive Sensors) ที่จะสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้จะมีความสามารถตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะหรือมีส่วนประกอบของโลหะเท่านั้น แต่คาปาซิทีฟ เซนเซอร์ (Capacitive Sensors) ซึ่งใช้หลักการสร้างไฟฟฟ้าสถิตย์นั้น ทำให้สามารถตรวจจับวัตถุได้เกือบทุกประเภท ทั้งโลหะและอโลหะ ซึ่งทำให้เซนเซอร์ชนิดนี้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายเพราะมีสารหรือปุ่มปรับ เซนซิทีวิตี้ (Sensitivity Adjustment) ซึ่งทำให้สารตรวจจับระดับของเหลวในภาชนะทึบแสงเช่น ใช้เช็คระดับน้ำมันเครื่องในถังพลาสติกทึบแสง เป็นต้น

คาปาซิทีฟ พร๊อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors) เป็นเซนเซอร์ที่สามารถทำการตรวจจับได้โดยตัวเซนเซอร์ไม่ต้องสัมผัสกับตัววัตถุเลย เหตุนี้จึงทำให้เซนเซอร์ชนิดนี้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาวเป็นอย่างมาก และยังสามารถตรวจจับได้ทั้งโลหะและอโลหะเช่น กระดาษ ขวด แก้ว พลาสติก น้ำ โดยความสามารถของการตรวจจับของเซนเซอร์ชนิดนี้นั้น จะขึ้นอยู่กับค่าคงที่ของค่าไดอิเล็กตริก (Dielectric Constant) หรือค่า k ของวัตถุ

สารไดอิเล็กตริก คือ สารที่ไม่นำไฟฟ้าเช่น ยาง แก้ว กระดาษไข พาราฟิน และเทฟลอน เป็นต้น ส่วนวัตถุที่เป็นตัวเก็บประจุนั้นเป็นแผ่นโลหะบางๆวางซ้อนกันโดยมีสารไดอิเล็กตริกอยู่ตรงกลาง จะมีลักษณะเป็นแผ่นระนาบสองแผ่นที่วางขนานกัน โดยจะมีระยะห่างระหว่างแผ่นขนาน และมีค่าความจุเริ่มต้น เมื่อใส่สารไดอิเล็กตริกเข้าไปแทนที่ ที่ว่างดังกล่าว จะทำให้ตัวเก็บประจุนั้น มีค่าความจุเพิ่มขึ้น สมมติว่าเป็น C และเรียกอัตราส่วนของค่าความจุใหม่ขณะที่มีไดอิเล็กตริก เทียบกับค่าความจุขณะไม่มีสารไดอิเล็กตริกว่า ค่าคงที่ไดอิเล็กตริก

สารไดอิเล็กตริก Dielectric

รูป แสดงสารไดอิเล็กตริก
ค่าคงที่ไดอิเล็กตริก (Dielectric) = C1/C2


หลักการทำงานของ คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซนเซอร์

(Capacitive Proximity Sensors)

เซนเซอร์ชนิดนี้มีรูปร่างและหน้าตาของตัวเซนเซอร์คล้ายกับ อินดักทีฟ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Inductive Proximity Sensors) แต่หลักการทำงานของเซนเซอร์สองชนิดนี้จะต่างกัน โดยเซนเซอร์ชนิดนี้จะอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุของตัวประจุ เมื่อวัตถุที่เราจะตรวจจับ เคลื่อนที่เข้ามาใกล้กับสนามไฟฟ้าของตัวเซนเซอร์มากขึ้น โดยใช้แอกทีฟอิเล็กโทรด (A) และ เอิทธ์อิเล็กโทรด (B) การเปลี่ยนแปลงค่าความจุ (Capacitance Value) ดังกล่าว จะขึ้นอยู่กับระยะทางระหว่างวัตถุเป้าหมายกับตัวเซนเซอร์ยิ่งวัตถุเคลื่อนที่เข้าใกล้ตัวเซนเซอร์มากขึ้น ค่าความจุไฟฟ้าระหว่างตัววัตถุกับคาปาซิทีฟเซนเซอร์ยิ่งมีค่าเปลี่ยนแปลงไปโดยค่าความจุไฟฟ้าจะมากขึ้น ขนาดและรูปร่างของวัตถุ และชนิดของ วัตถุเป้าหมาย ค่าไดอิเล็กตริกหรือค่า k ของวัตถุต่างกัน จะมีค่าความจุที่แตกต่างกัน เมื่อค่าความจุเปลี่ยนแปลงไปจนถึงค่าๆหนึ่ง ซึ่งมีค่าความต้านทาน (ในวงจรออสซิลเลเตอร์ RC) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงคือตั้งเป็นค่าคงที่ตั้งแต่แรก จะส่งผลให้เกิดการออสซิลเลทสัญญาณขึ้น และค่าแอมพลิจูด และ ความถี่สูงขึ้นเมื่อมีวัตถุเข้ามาในระยะตรวจจับที่ความถี่สูงค่าหนึ่ง วงจรทริกเกอร์จะสั่งให้มีค่าเอ้าท์พุทออกไป (DC, 4-20 mA หรือ 0-10 VDC)และส่งต่อไปที่เอ้าท์พุท เพื่อสั่งการให้เอ้าท์พุททำงาน ส่วนประกอบของตัว คาปาซิทีฟ พร๊อกซิมิตี้ เซนเซอร์ได้แก่ อิเล็กโทรด(แบ่งเป็นแอ็คทีฟอิเล็กโทรด (A) กับอิเล็กโทรดชดเชย (B)) ออสซิลเลเตอร์ วงจรทริกเกอร์ ตัวส่งสัญญาณเอ้าท์พุท

รูป ส่วนประกอบต่างๆ ภายในตัวเซนเซอร์

รูป ส่วนประกอบต่างๆ ภายในตัวเซนเซอร์

A ได้แก่ แอ็คทีฟอิเล็กโทรด
B ได้แก่ อิเล็กโทรดชดเชย

ขั้นตอนการทำงานจะเริ่มจาก ในขณะปรกติ คือ ไม่มีวัตถุเข้ามาในระยะตรวจจับตัวออสซิลเลเตอร์์จะอยู่ในสภาวะที่ไม่ทำงาน แต่เมื่อมีวัตถุเข้ามาในระยะทำงาน ตัวออสซิลเลเตอร์จะเริ่มทำงานโดยจะค่อยๆเพิ่มความถี่ของสัญญาณให้มากขึ้น เนื่องจากสนามไฟฟ้าสถิตที่สร้างขึ้นถูกรบกวนด้วยวัตถุที่เคลื่อนที่เข้ามาในระยะตรวจจับ เมื่อวัตถุเข้ามาอยู่ในระยะตรวจจับออสซิลเลเตอร์จะสร้างความถี่และแอมพลิจูดมากที่สุด และเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ออกจากระยะออสซิลเลเตอร์จะค่อยๆลดความถี่ลงจนวัตถุเคลื่อนที่ออกไปจนพ้นระยะ ออสซิลเลเตอร์ก้จะหยุดทำงานอีกครั้งหนึ่ง ตามรูปภาพด้านล่าง

ขั้นตอนการทำงานของ ออสซิลเลเตอร์

รูป ขั้นตอนการทำงานของ ออสซิลเลเตอร์

อ่านต่อ..

ศูนย์รวมเครื่องมือวัดและควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ทุกชนิด

" จากประสบการณ์ที่ยาวนาน ในวงการขายการนำเข้าเครื่องมือวัด และควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ด้วยทีมงานเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาบริการก่อนและหลังการขาย คุณภาพดี มีมาตรฐาน "

บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด จำหน่ายอุปกรณ์อุตสาหกรรมเครื่องมือวัด-เครื่องควบคุมแบบอัตโนมัติ อาทิเช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น, หัววัดอุณหภูมิ, เครื่องนับจำนวน, เครื่องตั้งเวลา, เครื่องทอสอบความเป็นฉนวน, เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า, แคลมป์มิเตอร์, มัลติมิเตอร์, มิเตอร์, เทอร์โมมิเตอร์, ฮีตเตอร์, เทอร์โมคัปเปิล, เซนเซอร์ตรวจจับแบบต่างๆ เป็นต้น และยังมี เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์, เครื่องซีลสูญญากาศขนาดเล็ก Fresh World

Contact us || บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด

หมวดหมู่สินค้า / Tags Products

Contact us

โทร : 0-2722-2233
แฟกซ์ : 0-2722-2211
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Visit us

80, 82 ถนนพัฒนาการ
แขวง/เขต ประเวศ กรุงเทพฯ 10250
supremelines.co.th

Office hours

Mon. - Fri. | 08.00 17.30
facebook/supremelines
LINE@: @supremelines

ติดต่อเรา Supremelines โปรโมชั่นสินค้า Catalog Heater Online