ข้อดี-ข้อเสีย ของโฟโต้อีเล็กทริกเซนเซอร์
โฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์ (Photoelectric Sensor) หรือเรียกว่า สวิทซ์ลำแสง มีลักษณะรูปร่างจะมีทั้งทรงกระบอกและทรงสี่เหลี่ยมตามแต่ละรุ่นแตกต่างกันไป โดยใช้แสงในการตรวจจับวัตถุที่ต้องการซึ่งแสงที่ใช้นั้นจะมีทั้งแบบอินฟาเรด (infrared) และแบบแสงสีแดง (Red LED) โดยโฟโต้อิเล็กทริกเซนเซอร์มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ตัวส่งแสง (emitter) และตัวรับแสง (receiver) ลักษณะการตรวจจับเกิดจากการที่ลำแสงจากตัวส่งแสง ส่งไปสะท้อนกับวัตถุหรือถูกขวางกั้นด้วยวัตถุ ส่งผลให้ตัวรับแสงรู้สภาวะที่เกิดขึ้น และเปลี่ยนแปลงสภาวะของสัญญาณทางด้านเอาต์พุตเพื่อนำไปใช้งานต่อไป
เซ็นเซอร์ประเภทนี้ โดยทั่วไปจะมีระยะการตรวจจับที่ 0–200 เมตร เป็นเซ็นเซอร์ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความเร็วในการตรวจจับ และงานที่ไม่ต้องการสัมผัสกับตัววัตถุ แต่จะไม่ค่อยเหมาะกับการติดตั้งในบริเวณที่มีฝุ่นเยอะ หรืองานที่มีสารเคมีที่สามารถกัดกร่อนอย่างรุนแรงได้ เนื่องจากจะทำให้ระยะในการตรวจจับ และความแม่นยำในการตรวจจับลดลงเป็นอย่างมาก นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตตรวจจับตำแหน่งของชิ้นงานในสายการผลิต, ใช้ในระบบการตรวจนับจำนวนวัตถุ และมีข้อดี และข้อเสียดังต่อไปนี้
ข้อดี
- ความแม่นยำสูง: สามารถตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็กหรือมีการเคลื่อนไหวเร็วได้อย่างแม่นยำ
- ระยะตรวจจับกว้าง: สามารถปรับระยะการตรวจจับได้ตามต้องการ
- ติดตั้งง่าย: มีขนาดเล็กและสามารถติดตั้งได้ในพื้นที่จำกัด
- ตอบสนองเร็ว: มีเวลาตอบสนองที่รวดเร็ว ทำให้เหมาะกับการใช้งานในระบบอัตโนมัติ
ข้อเสีย
- การรบกวนจากแสงภายนอก: แสงจากภายนอกที่แรงเกินไปอาจทำให้การตรวจจับไม่แม่นยำ
- การบำรุงรักษา: ตัวรับแสงและตัวส่งแสงอาจต้องทำความสะอาดเป็นระยะเพื่อรักษาประสิทธิภาพการทำงาน
- การสะท้อนแสงที่ไม่คาดคิด: วัตถุที่มีพื้นผิวสะท้อนแสงมากเกินไปอาจทำให้เซนเซอร์ตรวจจับผิดพลาด
ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ >> https://cutt.ly/photoswitch_SPL