ทำไมถึงต้องใช้ฮีตเตอร์ท่อแก้ว ในการต้มน้ำยาทางเคมี
ฮีตเตอร์ท่อแก้ว เหมาะสำหรับใช้กับของเหลวทุกประเภท เนื่องจากของเหลวจะไม่ทำปฏิกิริยากับแก้วควอทช์ ซึ่งแก้วควอทซ์เป็นวัสดุกรดชนิดหนึ่ง นอกจากกรดไฮโดรฟลูออริก และกรดฟอสฟอริกร้อนแล้วมันจะเฉื่อยกับกรดอื่น ๆ และเป็นวัสดุทนกรดที่ดีที่สุด แก้วควอทซ์มีความเสถียรทางเคมีของมันเทียบเท่ากับ 30 คูณของเซรามิกทนกรด, 150 คูณของนิกเกิลโครเมียมอัลลอยด์ และเซรามิกทั่วไปที่อุณหภูมิสูง และการใช้งานกรดเข้มข้นเหนือกว่าอย่างมีนัยสำคัญยกเว้นกรดไฮโดรฟลูออริกและ 300℃ ฟอสเฟต แก้วควอทซ์ไม่สามารถกัดเซาะโดยการกัดกรดอื่น ๆ (อ้างอิง : micquartz)
ฮีตเตอร์ท่อแก้ว หรือฮีตเตอร์ควอทซ์ มีความเปราะบาง ดังนั้นจึงต้องระวังการกระแทก เนื่องจากท่อแก้วควอทช์มีลักษณะเหมือนกับท่อแก้วอื่นๆ แต่มีคุณสมบัติทนทานต่อสารเคมี ดีกว่าฮีตเตอร์อุ่น-ต้มน้ำยาเคมี และฮีตเตอร์ควอทช์ของ บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด จะมีท่อเอสล่อนป้องกันท่อแก้วตลอดความยาว
ดูรายละเอียดสินค้าได้ที่ https://cutt.ly/Immersion-Heater_SPL
วัสดุที่ใช้ทำปลอกหัววัดอุณหภูมิ (Probe) THERMOCOUPLE & PT100
1. SUS304 ใช้ในงานทั่วไป อุณหภูมิไม่สูง ไม่ขึ้นสนิม ลักษณะมันเงาสวยงาม เหมาะกับงานที่ไม่มีกัดกร่อนของสารเคมี
2. SUS316,316L ถือว่ายังใช้ในงานทั่วไป แต่จะใช้เมื่องานมีการกัดกร่อนในระดับกลางๆไม่สูงมาก อุณหภูมิใช้งานควรไม่เกิน 900 ºC แต่ถ้าสารเคมี มีการกัดกร่อนสูงมากๆ อุณหภูมิไม่สูง แนะนำสามารถสวมท่อเทปลอนอีกชั้นในการสั่งทำได้ราคาเพิ่มไม่มาก
3. SUS310S เป็นเกรดสแตนเลสที่ออกแบบมาใช้กับงานที่มีอุณหภูมิถึง 1,150 ºC แบบต่อเนื่อง จึงเหมาะกับงานที่มีอุณหภูมิสูงต่อเนื่อง เช่น งาน Heat treatment ห้องเผาไหม้ในบอยเลอร์
4. Inconel 840 วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 1,150 ºC และทนการกัดกร่อนได้ดีมาก
5. Ceramic ทำให้วัดอุณหภูมิสูงได้ดีถึง 1600 ºC (สำหรับ Type R, S)
6. Alumina มีความแข็งมาก ทนต่อการเสียดสีได้ดี ทนความร้อนได้สูงกว่า 1500 ºC และที่สำคัญคือ ทนต่อปฏิกิริยาเคมีไม่ว่าจะเป็นกรดหรือด่าง
7. Silicon Nitride เป็นธาตุที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อจะให้มีคุณสมบัติทน thermal shock ได้ และยังทนการกัดกร่อนสูง ของสารเคมีได้ดีอีกด้วย จึงนิยมใช้ ในงานหลอมโลหะหนัก ทนอุณหภูได้สูงมาก 1500 ºC