โซลิดสเตตรีเลย์ คืออะไร และมีกี่ชนิด?
โซลิดสเตตรีเลย์ ที่เห็นกันในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Zero Switching (สำหรับโหลด AC) และ DC Switching (สำหรับโหลด DC) เพราะว่าใช้ได้กับโหลดทุกประเภทไม่ต้องสอบถามรายละเอียดมากมาย และอาจจะมี Analog Switching อยู่บ้าง เพื่อนำไปควบคุมโหลดที่สามารถหรี่ได้ เช่น ฮีตเตอร์ โดยใช้ร่วมกับ เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ระบบ PID ซึ่งโซลิดสเตตรีเลย์ประเภทนี้ มีผู้ผลิตน้อยมาก
โซลิดสเตตรีเลย์ดีกว่ารีเลย์ธรรมดาหรือไม่?
คำถามนี้ตอบยากเพราะว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่ดีเลิศ 100% และไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะแย่ 100% จึงขึ้นอยู่กัยว่าเราจะมองข้อเปรียบเทียบจุดไหน แต่สามารถบอกได้แค่เพียงว่า โซลิดสเตตรีเลย์มีข้อดีมากกว่า รีเลย์ธรรมดาดีอย่างไร และมีข้อด้วยอะไร ขออธิบายต่อดังนี้
ข้อดีของโซลิดสเตตรีเลย์
- อายุการใช้งานมากกว่า 1 พันล้านครั้ง ข้อนี้หลายท่านคงจะนึกคิดค้านอยู่ในใจว่า ไม่จริงเคยใช้อยู่ ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ เสียง่าย ข้อนี้จะขออธิบายเพิ่มเติม เจาะรายละเอียดภายหลัง
- ไม่มีการสปาร์ก หรือ อาร์ก, เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI) น้อย
- ไม่กลัวการสั่นสะเทือน หรือการกระทบกระแทก
- ไม่กลัวฝุ่น
- ไม่มีเสียงรบกวน ทำงานเงียบสนิท
- ใช้งานกับ PLC หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง
- ทำงาน (การตัดต่อ) ได้เร็ว
ข้อด้อยของโซลิดสเตตรีเลย์
- ต้องใช้แผ่นระบายความร้อน (Heat Sink)
- ทน Transient Voltage ได้ต่ำ
- เกิดแรงดันตกคร่อม
- มีกระแสรั่วไหล เมื่ออยู่ในสภาวะ OFF
ข้อดี และ ข้อด้อย ของโซลิดสเตตรีเลย์ ในแต่ละข้อที่หยิบยกมา คงจะไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม เพราะว่าชัดเจนอยู่แล้ว
โซลิดสเตตรีเลย์ใช้งานได้ทนจริงหรือ ?
คำถามนี้ขอตอบว่าจริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช้ว่า ซื้อโซลิดสเตตรีเลย์มาแล้ว ต่อไฟอินพุต, เอาต์พุตใช้งานเลย ถ้าทำอย่างนี้เสียง่ายแน่นอนในบางงานอาจจะเสียโดยใช้งานได้ไม่ถึงชั่วโมงถ้าต้องการใช้โซลิดสเตตรีเลย์ให้ทนทานนานจนลืม ต้องมีเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ช่วยโซลิดสเตตรีเลย์ ดังนี้
HEATSINK (แผ่นระบายความร้อน) เนื่องจากโซลิดสเตตรีเลย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดแพ้ความร้อน ถ้าการระบายความร้อนไม่ดีพอจะเกิดความร้อนสะสมที่ตัวโซลิดสเตตรีเลย์ทำให้ OVER HEAT และเสียได้ ในบางงานถ้าใช้กระแสไฟฟ้าสูงๆ เพียงแค่ติด HEATSINK ก็ยังไม่พอ ต้องติดพัดลมระบายอากาศช่วยอีกด้วย และการติดตั้ง HEATSINK กับตัวโซลิดสเตตรีเลย์ ก็ต้องมี HEATSINK COMPOUND ช่วยด้วย เพื่อไม่ให้มีช่องอากาศอยู่ระหว่าง HEATSINK กับตัวโซลิดสเตตรีเลย์
- SEMICONDUCTOR FUSE ฟิวส์นี้จะช่วยป้องกัน OVER LOAD ถ้าโหลดเกิดช็อตขึ้นมา
- METAL OXIDE VARISTOR (MOV) ป้องกัน TRANSIENT VOLTAGE ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะจึงต้องป้องกันไว้ก่อน ปัญหานี้พบบ่อยมากที่อยู่ดีๆ โซลิดสเตตรีเลย์เกิดเสียขึ้นมา โดยที่สภาพภายนอกก็ยังเหมือนเดิมทำให้หลายๆ ท่านเข้าใจว่าปัญหาอยู่ที่โซลิดสเตตรีเลย์ใช้งานได้ไม่ทน แต่ถ้าเอา Mov มาต่อคร่อม LINE OUT ก็จะช่วยลดปัญหานี้ไปได้
หลายๆ ท่านก็คงจะเคยได้ยิน, เคยเห็น หรือเคยใช้ โซลิดสเตตรีเลย์กันมาแล้ว แต่คงจะมีน้อยคนที่ทราบว่า โซลิดสเตตรีเลย์ มีหลายชนิด ดังนี้
- ZS : Zero Switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท
- IO : Instant-On Switching โหลดที่ต้องการความเร็วในการ ON-OFF
- PS : Peak Switching ใช้ได้ดีกับโหลดที่เป็นหม้อแปลง
- AS : Analog Switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท
- DCS : DC Switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท