• Home
  • สาระน่ารู้

บทความ สาระน่ารู้ มีประโยชน์

SUPREMELINES CO.,LTD

การควบคุมแบบอัตโนมัติ (Automatic Control) การแก้ไขให้ระบบวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมคัปเปิลให้ทำงานได้ดีขึ้น
เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หลักการวัดความต้านทานดิน Earth Ressistivity Measurement
เครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศ คือ "บาโรมิเตอร์ (Barometer)" เครื่องตรวจจับความเคลื่อนไหว คืออะไร
ฮีตเตอร์อินฟราเรด Infrared Heater หลักการเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพความร้อน
พร็อกซิมิตี้สวิตช์ Proximity Switches เอ็นโค้ดเดอร์ในงานอุตสาหกรรม
โฟโต้สวิตช์ (Photo Switch) คืออะไร ทฤษฏี Flow Meter
โซลิดสเตตรีเลย์ คืออะไร และมีกี่ชนิด? คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors)
การป้องกันระบบไฟฟ้า แรงดัน-กระแส-ความถี่ ขาด/เกิน อัลตราโซนิค เซนเซอร์ (Ultrasonic Sensors)

ฮีตเตอร์อินฟราเรด Infrared Heater


อินฟราเรด คืออะไร?

อินฟราเรด เป็นรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความยาวคลื่น 0.7 ไมโครเมตร ถึง 80 ไมโครเมตร โดยในธรรมชาติเราจะคุ้นเคยหรือสัมผัสกับอินฟราเรดอยู่เสมอ ๆ เช่น ในแสงแดดหรือแสงอาทิตย์จะมีอินฟราเรดรวมอยู่ด้วย ทำให้เรารู้สึกร้อน อินฟราเรดที่ส่งออกมาจากดวงอาทิตย์นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลาง หรือตัวพาความร้อนจึงสามารถผ่านมาสู่โลกได้ด้วยวิธีการแผ่รังสี

อินฟราเรด มีประโยขน์อย่างไร?

ตั้งแต่โบราณกาล มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากอินฟราเรดอยู่แล้ว เช่น ใช้ในการถนอมอาหารก็คืออาหารตากแห้งใช้แสงอาทิตย์ซึ่งก็อาศัยอินฟราเรดนั่นเอง, ใช้ตากผ้าให้แห้ง, ใช้ไล่ความชื้น, ให้ความอบอุ่น อินฟราเรดเป็นพลังงานบริสุทธิ์ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ

เราจะนำอินฟราเรดมาใช้ และควบคุมอย่างไร

การใช้อินฟราเรดจากแสงอาทิตย์ตามธรรมชาตินั้น เราไม่สามารถที่จะควบคุมได้ ยิ่งถ้าเป็นฤดูฝนมีเมฆมากปริมาณอินฟราเรดก็จะน้อยจนไม่สามารถนำมาใช้งานตามวัตถุประสงค์ ทำอย่างไรจึงจะควบคุมอินฟราเรดได้ จริงๆแล้วเราอาจเรียกอินฟราเรดด้วยภาษาง่ายๆ ต่อความเข้าใจว่าคลื่นความร้อนก็คงจะผิดเพี้ยนไปไม่มาก สิ่งแวดล้อมรอบตัวเราทุกชนิดจะมีอินฟราเรดหรือคลื่นความร้อนออกมาทั้งสิ้น ถ้าเราจะต้องการทำแหล่งกำเนิดอินฟราเรด หรือแหล่งกำเนิดความร้อน เราก็คงจะนึกถึงฮีตเตอร์ ซึ่งก็จะมีลวดความร้อนเป็นหัวใจหลายคนคงจะสงสัยแล้วว่าฮีตเตอร์มีอยู่เยอะแยะมากมายทั้งคาร์ทริดจ์ฮีตเตอร์, ฮีตเตอร์ต้มน้ำ, ฮีตเตอร์แท่ง ทำไมไม่เรียกว่าอินฟราเรดฮีตเตอร์ ทั้ง ๆ ที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนเหมือนกัน คำตอบก็คือฮีตเตอร์เหล่านี้ต้องอาศัยตัวกลางในการพาความร้อนออกจากผิวตัวฮีตเตอร์ มิฉะนั้นตัวฮีตเตอร์จะหลอมและเสียในที่สุด แต่ถ้าเราใช้วัสดุอื่นที่สามารถทนความร้อนได้สูง จนไม่จำเป็นต้องอาศัยตัวกลางพาความร้อนออกไปจากพื้นผิวตัวฮีตเตอร์ นั่นก็คือ อินฟราเรดฮีตเตอร์ ซึ่งวัสดุที่ว่านี้ก็คือเซรามิก กล่าวโดยสรุปได้ว่า อินฟราเรดฮีตเตอร์จะมีขดลวดความร้อนฝังอยู่ในเนื้อเซรามิก โดยขดลวดความร้อนจะทำให้เกิดความร้อนและถ่ายเทความร้อนไปสู่เซรามิก เมื่อเซรามิกร้อนจะเกิดอินฟราเรดขึ้น จะเห็นได้ว่าคุณภาพของอินฟราเรดฮีตเตอร์จะขึ้นอยู่กับคุณสุมบัติของเซรามิกซึ่งเป็นความลับของแต่ละยี้ห้อที่จะผสมสารอะไรลงไปเพื่อให้เซรามิกมีคุณสมบัติกำเนิดอินฟราเรดได้ดีมีความยาวคลื่นเหมาะสม

ฮีตเตอร์อินฟราเรด Infrared Heater

แนะนำฮีตเตอร์อินฟราเรด

ฮีตเตอร์อินฟราเรด เป็นตัวกำเนิดแสงอินฟราเรด ซึ่งเป็นแสงที่มีคลื่นยาวที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตามนุษย์ ซึ่งรังสีคลื่นยาวนี้จะทำให้โมเลกุลของวัตถุที่ได้รับรังสีนี้เข้าไปเกิดอาการสั่น ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนขึ้น ซึ่งหลักนี้จะมีประสิทธิภาพมากเมื่อนำไปประยุกต์ใช้กับวัตถุที่มีโครงสร้างโมเลกุลขนาดใหญ่ หรือวัตถุที่มีโมเลกุลเกาะเรียงกันเป็นแถวยาว เช่น สี, กาว, อาหาร, พลาสติก, แลกเกอร์

อ่านต่อ..

พร็อกซิมิตี้สวิตช์ Proximity Switches


พร็อกซิมิตี้สวิตช์ Proximity Switches

ในปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้พัฒนาเครื่องจักรที่ใช้ให้มีประสิทธิภาพในการผลิตมากขึ้น และอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิม และอุปกรณ์ที่จะกล่าวถึงในที่นี้คือ พร็อกซิมิตี้สวิตช์ (Proximity Switches) หรือสวิตช์แบบไม่สัมผัสกับวัสดุ ซึ่งนำมาใช้ตรวจจับวัตถุต่างๆ ที่เข้ามาในระยะที่ตรวจจับ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลายแบบ ตัวอย่างเช่น การตรวจจับตำแหน่งของเครื่องจักร, การตรวจสอบปริมาณที่บรรจุภาชนะ, การตรวจจับความเร็วรอบ, การตรวจจับสิ่งของ, ฯลฯ พร็อกซิมิตี้สวิตช์แบ่ง ได้เป็น 2 ประเภทได้แก่

  1. อินดัคทีฟพร็อกซิมิตี้ (Inductive Proximity)
  2. คะแพซิทีฟพร็อกซิมิตี้ (Capacitive Proximity)

อินดัคทีฟพร็อกซิมิตี้สวิตช์ (Inductive Proximity)

เป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้ตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น เช่น เหล็ก, สแตนเลส, อลูมิเนียม เป็นต้น โดยอินดัคทีฟพร็อก สามารถที่จะตรวจจับโลหะที่มีคาร์บอนน้อย (Mild Steel) ได้ดี

อินดัคทีฟพร็อกซิมิตี้สวิตช์ (Inductive Proximity)  ส่วนประกอบของอินดัคทีฟพร็อกซิมิตี้
  1. วัตถุเป้าหมาย (Target)
  2. สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Fleld)
  3. ตัวเรื่อน (HOUSING)
  4. ขดลวดออสซิลเลเตอร์ (Oscillator Coil)
  5. แกนเฟอร์ไรท์ (Ferrous)

หลักการทำงานของอินดัคทีฟพร็อกซิมิตี้สวิตช์

หลักการทำงานของอินดัคทีฟพร็อกซิมิตี้สวิตช์

อ่านต่อ..

โฟโต้สวิตช์ (PHOTO SWITCH) คืออะไร


โฟโต้สวิตช์ คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการตรวจจับการปรากฏขึ้นของวัตถุโดยอาศัยหลักการการส่งและการรับแสง โดยแสงที่ใช้จะเป็นแสงที่ได้จากหลอด LED ซึ่งจะมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ

  1. แสงที่สายตามนุษย์มองเห็นได้
  2. แสงอินฟราเรด ซึ่งเป็นแสงที่มนุษย์ไม่เห็นเพราะมีความยาวคลื่นสูงกว่า 800 นาโนเมตร ดังแสดงใน รูปที่ 1

แถบสีและความยาวคลื่นของแสง

รูปที่ 1 แถบสีและความยาวคลื่นของแสง

ซึ่งข้อดีของแสงทั้ง 2 ส่วน ก็คือ แสงที่มนุษย์สามารถมองเห็นจะช่วยในการติดตั้งจโฟโต้สวิตช์ได้เร็วและสะดวกยิ่งขึ้นส่วนแสงอินฟราเรดจะช่วย เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับ เนื่องจากมีความเข้มของแสงสูงกว่าแสงที่สายตามองเห็นทำให้ตรวจจับได้ไกล และโฟโต้ทรานซศิสเตอร์ ซึ่งอยู่ในภาครับแสง จะตอบสนองกับแสงอินฟราเรดได้ดีกว่าแสงที่สายตามองเห็น ดังแสดงในรูปที่ 2

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของแสงกับการตอบสนองของโฟโต้ทรานซอสเตอร์

รูปที่ 2 กราฟแสดงความสัมพันธ์ของแสงกับการตอบสนองของโฟโต้ทรานซอสเตอร์


องค์ประกอบของโฟโต้สวิตช์ จะประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

  1. ภาคส่งแสง (Emitter หรือ Transmitter)
    • Pulse modulator คือวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างพัลส์ ซึ่งความถี่ของพัลส์นี้ จะเป็นความถี่ของแสงที่จะถูกส่งออกไป
    • Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญานพัลส์ให้มีโวลต์เตจสูงขึ้น
    • Opto-diode ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญานไฟฟ้าที่ได้ให้เป็นแสง ซึ่งมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ แสงอินฟราเรด และแสงที่มนุษย์มองเห็น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแสงสีแดง รองลงมาคือแสงสีเขียว
    • เลนส์ (Lense) ทำหน้าที่รวมแสงแล้วส่งออกไป
  2. ภาครับแสง (Reciever)
    • เลนส์ (Lense) ทำหน้าที่รวมแสงที่เข้ามา
    • Photo transister ทำหน้าที่แปลงแสงที่รับเข้ามาให้เป็นสัญญานไฟฟ้าออกมาเป็นมิลลิโวลต์
    • Pre-Amplifier ทำหน้าที่ขยายโวลต์เตจที่รับมาจาก Photo Transister ให้สูงขึ้น
    • Synchronizer ทำหน้าที่เปรียบเทียบความถี่ของแสงที่รับมาจาก Pulse Modulator ว่าตรงกันหรือไม่ หากตรงกันก็จะส่งเอาท์พุตออกไป ซึ่งวงจรเหล่านี้จะช่วยป้องกันแสงรบกวนจากแสงภายนอกทั้งจากแสงแดดและหลอดไฟในห้องทำงาน เพราะความถี่ของแสงที่รบกวนจะไม่ตรงกับความถี่ที่ส่งมาจากภาคส่งแสงทำให้สามารถแยกความแตกต่างได้
    • Sensitivity Adjustment เป็นตัวความต้านทานที่ปรับค่าได้ เพื่อกำหนดปริมาณแสงที่ได้รับมาว่าปริมาณเท่าใดจึงจะให้เอาท์พุตทำงาน โดยจะเป็นการปรับค่าโวลต์เตจ เพื่อจะให้วงจรถัดไปคือ Trigger ทำการ ON หรือ OFF
    • Trigger คือวงจรที่จะสั่งให้ทำการ ON หรือ OFF จะมีค่า ฮีสเตอร์รีซิส (Hysterresis) เพื่อป้องกันไม่ให้เอาท์พุตทำงานบ่อยเกินไป
    • Amplifier ทำหน้าที่ขยายสัญญานให้มีโวลต์เตจสูงขึ้น เพื่อสั่งให้เอาท์พุตทรานซิสเตอร์เปลี่ยนสภาวะ

แสดงองค์ประกอบของโฟโต้สวิตช์ทั้งภาคส่งและภาครับ


อ่านต่อ..

โซลิดสเตตรีเลย์ คืออะไร และมีกี่ชนิด?


โซลิดสเตตรีเลย์ ที่เห็นกันในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นแบบ Zero Switching (สำหรับโหลด AC) และ DC Switching (สำหรับโหลด DC) เพราะว่าใช้ได้กับโหลดทุกประเภทไม่ต้องสอบถามรายละเอียดมากมาย และอาจจะมี Analog Switching อยู่บ้าง เพื่อนำไปควบคุมโหลดที่สามารถหรี่ได้ เช่น ฮีตเตอร์ โดยใช้ร่วมกับ เครื่องควบคุมอุณหภูมิ ระบบ PID ซึ่งโซลิดสเตตรีเลย์ประเภทนี้ มีผู้ผลิตน้อยมาก

โซลิดสเตตรีเลย์ดีกว่ารีเลย์ธรรมดาหรือไม่?

คำถามนี้ตอบยากเพราะว่าไม่มีสิ่งใดในโลกที่ดีเลิศ 100% และไม่มีสิ่งใดในโลกที่จะแย่ 100% จึงขึ้นอยู่กัยว่าเราจะมองข้อเปรียบเทียบจุดไหน แต่สามารถบอกได้แค่เพียงว่า โซลิดสเตตรีเลย์มีข้อดีมากกว่า รีเลย์ธรรมดาดีอย่างไร และมีข้อด้วยอะไร ขออธิบายต่อดังนี้

ข้อดีของโซลิดสเตตรีเลย์

  • อายุการใช้งานมากกว่า 1 พันล้านครั้ง ข้อนี้หลายท่านคงจะนึกคิดค้านอยู่ในใจว่า ไม่จริงเคยใช้อยู่ ต้องเปลี่ยนอยู่บ่อยๆ เสียง่าย ข้อนี้จะขออธิบายเพิ่มเติม เจาะรายละเอียดภายหลัง
  • ไม่มีการสปาร์ก หรือ อาร์ก, เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EMI) น้อย
  • ไม่กลัวการสั่นสะเทือน หรือการกระทบกระแทก
  • ไม่กลัวฝุ่น
  • ไม่มีเสียงรบกวน ทำงานเงียบสนิท
  • ใช้งานกับ PLC หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้โดยตรง
  • ทำงาน (การตัดต่อ) ได้เร็ว

ข้อด้อยของโซลิดสเตตรีเลย์

  • ต้องใช้แผ่นระบายความร้อน (Heat Sink)
  • ทน Transient Voltage ได้ต่ำ
  • เกิดแรงดันตกคร่อม
  • มีกระแสรั่วไหล เมื่ออยู่ในสภาวะ OFF

ข้อดี และ ข้อด้อย ของโซลิดสเตตรีเลย์ ในแต่ละข้อที่หยิบยกมา คงจะไม่ต้องอธิบายเพิ่มเติม เพราะว่าชัดเจนอยู่แล้ว

โซลิดสเตตรีเลย์ใช้งานได้ทนจริงหรือ ?

คำถามนี้ขอตอบว่าจริง แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้งานที่ถูกต้องด้วย ไม่ใช้ว่า ซื้อโซลิดสเตตรีเลย์มาแล้ว ต่อไฟอินพุต, เอาต์พุตใช้งานเลย ถ้าทำอย่างนี้เสียง่ายแน่นอนในบางงานอาจจะเสียโดยใช้งานได้ไม่ถึงชั่วโมงถ้าต้องการใช้โซลิดสเตตรีเลย์ให้ทนทานนานจนลืม ต้องมีเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ช่วยโซลิดสเตตรีเลย์ ดังนี้

HEATSINK (แผ่นระบายความร้อน) เนื่องจากโซลิดสเตตรีเลย์ เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดแพ้ความร้อน ถ้าการระบายความร้อนไม่ดีพอจะเกิดความร้อนสะสมที่ตัวโซลิดสเตตรีเลย์ทำให้ OVER HEAT และเสียได้ ในบางงานถ้าใช้กระแสไฟฟ้าสูงๆ เพียงแค่ติด HEATSINK ก็ยังไม่พอ ต้องติดพัดลมระบายอากาศช่วยอีกด้วย และการติดตั้ง HEATSINK กับตัวโซลิดสเตตรีเลย์ ก็ต้องมี HEATSINK COMPOUND ช่วยด้วย เพื่อไม่ให้มีช่องอากาศอยู่ระหว่าง HEATSINK กับตัวโซลิดสเตตรีเลย์

  • SEMICONDUCTOR FUSE ฟิวส์นี้จะช่วยป้องกัน OVER LOAD ถ้าโหลดเกิดช็อตขึ้นมา
  • METAL OXIDE VARISTOR (MOV) ป้องกัน TRANSIENT VOLTAGE ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะจึงต้องป้องกันไว้ก่อน ปัญหานี้พบบ่อยมากที่อยู่ดีๆ โซลิดสเตตรีเลย์เกิดเสียขึ้นมา โดยที่สภาพภายนอกก็ยังเหมือนเดิมทำให้หลายๆ ท่านเข้าใจว่าปัญหาอยู่ที่โซลิดสเตตรีเลย์ใช้งานได้ไม่ทน แต่ถ้าเอา Mov มาต่อคร่อม LINE OUT ก็จะช่วยลดปัญหานี้ไปได้

หลายๆ ท่านก็คงจะเคยได้ยิน, เคยเห็น หรือเคยใช้ โซลิดสเตตรีเลย์กันมาแล้ว แต่คงจะมีน้อยคนที่ทราบว่า โซลิดสเตตรีเลย์ มีหลายชนิด ดังนี้

  • ZS : Zero Switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท
  • IO : Instant-On Switching โหลดที่ต้องการความเร็วในการ ON-OFF
  • PS : Peak Switching ใช้ได้ดีกับโหลดที่เป็นหม้อแปลง
  • AS : Analog Switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท
  • DCS : DC Switching ใช้ได้กับโหลดทุกประเภท

ศูนย์รวมเครื่องมือวัดและควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ทุกชนิด

" จากประสบการณ์ที่ยาวนาน ในวงการขายการนำเข้าเครื่องมือวัด และควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ด้วยทีมงานเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาบริการก่อนและหลังการขาย คุณภาพดี มีมาตรฐาน "

บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด จำหน่ายอุปกรณ์อุตสาหกรรมเครื่องมือวัด-เครื่องควบคุมแบบอัตโนมัติ อาทิเช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น, หัววัดอุณหภูมิ, เครื่องนับจำนวน, เครื่องตั้งเวลา, เครื่องทอสอบความเป็นฉนวน, เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า, แคลมป์มิเตอร์, มัลติมิเตอร์, มิเตอร์, เทอร์โมมิเตอร์, ฮีตเตอร์, เทอร์โมคัปเปิล, เซนเซอร์ตรวจจับแบบต่างๆ เป็นต้น และยังมี เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์, เครื่องซีลสูญญากาศขนาดเล็ก Fresh World

Contact us || บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด

หมวดหมู่สินค้า / Tags Products

Contact us

โทร : 0-2722-2233
แฟกซ์ : 0-2722-2211
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Visit us

80, 82 ถนนพัฒนาการ
แขวง/เขต ประเวศ กรุงเทพฯ 10250
supremelines.co.th

Office hours

Mon. - Fri. | 08.00 17.30
facebook/supremelines
LINE@: @supremelines

ติดต่อเรา Supremelines โปรโมชั่นสินค้า Catalog Heater Online