• Home
  • สาระน่ารู้

บทความ สาระน่ารู้ มีประโยชน์

SUPREMELINES CO.,LTD

การควบคุมแบบอัตโนมัติ (Automatic Control) การแก้ไขให้ระบบวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมคัปเปิลให้ทำงานได้ดีขึ้น
เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple) หลักการวัดความต้านทานดิน Earth Ressistivity Measurement
เครื่องมือที่ใช้วัดความกดอากาศ คือ "บาโรมิเตอร์ (Barometer)" เครื่องตรวจจับความเคลื่อนไหว คืออะไร
ฮีตเตอร์อินฟราเรด Infrared Heater หลักการเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพความร้อน
พร็อกซิมิตี้สวิตช์ Proximity Switches เอ็นโค้ดเดอร์ในงานอุตสาหกรรม
โฟโต้สวิตช์ (Photo Switch) คืออะไร ทฤษฏี Flow Meter
โซลิดสเตตรีเลย์ คืออะไร และมีกี่ชนิด? คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (Capacitive Proximity Sensors)
การป้องกันระบบไฟฟ้า แรงดัน-กระแส-ความถี่ ขาด/เกิน อัลตราโซนิค เซนเซอร์ (Ultrasonic Sensors)

การป้องกันระบบไฟฟ้า แรงดัน-กระแส-ความถี่ ขาด/เกิน


การป้องกันระบบไฟฟ้า ในปัจจุบันไม่มีใครบอกว่าไฟฟ้าไม่มีความจำเป็นในชีวอตประจำวัน ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่บ้าน ที่โรงเรียน ที่ทำงาน หรือที่ไหนๆ ทุกคนทุกชีวิตมีส่วนเกี่ยวข้องทั้งนั้น ในการป้องกันระบบไฟฟ้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งเพื่อป้องกันอุปกรณืทางไฟฟ้าที่เราใช้งานอยู่

ความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ในระบบไฟฟ้า

1. แรงดันไฟฟ้าตกหรือเกิน

แรงดันไฟฟ้าตกเกิดขึ้นเนื่องจาก ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น ทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมระหว่างทางมาก ทำให้แรงดันปลายทางที่โหลดได้รับน้อย ส่วนแรงดันเกินส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นน้อย หรือจะเกิดขึ้นในส่วนที่ติดตั้งใกล้หม้อแปลงไฟฟ้า เพราะหม้อแปลงการไฟฟ้าแปลงออกมาอยู่ที่ 416 VL-L และ 240 VL-N

ตัวอย่างผลกระทบของแรงดันไฟฟ้าตกหรือเกิน จะแบ่งเป็นโหลด 2 ประเภท คือ ความต้านทานและอินดักทีฟ

ผลกระทบ
สมมุติ ถ้าแรงดันไฟฟ้าตก 20% โหลดความต้านทาน (เช่น ฮีตเตอร์) กำลังไฟฟ้าจะตกเหลือ 64% ของพิกัด เช่น ฮีตเตอร์ 100 W จะเหลือ 64 W และกระแสไฟฟ้าจะลดลง 20% ของพิกัด โหลดอินดักทีฟ (เช่น หม้อแปลงมอเตอร์) กำลังไฟฟ้าตกเหลือ 64% ของพิกัด มอเตอร์ขนาด 10 แรงม้าจะเหลือ 6.4 แรงม้าความเร็วรอบตกและกระแสไฟฟ้าสูงขึ้น เพื่อให้มีกำลังขับโหลดที่ 10 แรงม้าได้
สมมุติถ้าแรงดันไฟฟ้าตกเกิน 20% กำลังไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 144% ของพิกัด เช่น ฮีตเตอร์ 100 W จะกลายเป็น 144 W และกระแสไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้น 20% ของพิกัด เป็นผลอาจทำให้ฮีตเตอร์ทำงานไม่ทนทาน กำลังขับมอเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 144% ของพิกัด เช่น มอเตอร์ขนาด 10 แรงม้าจะกลายเป็น 14.4 แรงม้า มีข้อดีก็คือ ความเร็วรอบสูงขึ้นกว่าพิกัด ข้อเสียคือ เกิดค่าความสูญเสียในแกนเหล็กสูงมากจนอาจทำให้มอเตอร์ไหม้ได้

2. กระแสไฟฟ้าตกหรือเกิน

กระแสไฟฟ้าเกินเป็นผลมาจากแรงดันไฟฟ้าเกินในโหลดความต้านทาน เช่น ฮีตเตอร์หรือเป็นผลจาก มอเตอร์ขับโหลดเกินพิกัด ซึ่งเป็นผลเสียคือ ทำให้อุปกรณืดังกล่าว เกิดความร้อนขึ้นอาจทำให้อุปกรณ์นั้น เกิดความเสียหายในที่สุด จึงจำเป็นต้องป้องกันไว้

ส่วนกระแสแสตกนั้น เป็นผลมาจากแรงดันไฟฟ้าตกทำให้ฮีตเตอร์ทำงานไม่เต็มที่ ทำให้งานไม่ได้กำลังไฟฟ้าที่ต้องการ ส่วนทางโหลดประเภทมอเตอร์นั้นจะหมายถึงการที่โหลดรับภาวะผิดปกติ เช่น มอเตอร์ขับสายพาน แล้วสายพานเกิดการขาดขึ้นมาจะทำให้มอเตอร์ตัวนั้นแสตก

อ่านต่อ..

การแก้ไขให้ระบบวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมคัปเปิลให้ทำงานได้ดีขึ้น ต้องปฏิบัติดังนี้

  1. ใช้ สายเทอร์โมคัปเปิล ขนาดใหญ่ที่สุดที่จะเป็นไปได้ เพราะมันจะไม่พ่วงเอาความร้อนออกจากพื้นที่การวัดเข้ามา
  2. ถ้าต้องการใช้สายขนาดเล็ก ๆ ให้ใช้เฉพาะในขอบเขตที่ทำการวัด และใช้สายขยาย (Extention Wire) ในขอบเขตที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกลางสาย
  3. หลีกเลี่ยงความเค้นทางกล และการสั่นสะเทือนที่มีผลให้เกิดความเครียดในสาย
  4. เมื่อใช้สายเทอร์โมคัปเปิลยาวๆ ให้ต่อชีลด์ที่สายไปยังขั้วต่อสายของดิจิตอลโวลต์ มิเตอร์ และใช้สายขยายสัญญาณแบบบิดเกลียว
  5. หลีกเลี่ยงบริเวณที่เต็มไปด้วยการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิกลางสาย
  6. พยายามเลือกสายเทอร์โมคัปเปิลในพิกัดอุณหภูมิของมัน
  7. ป้องกันวงจรแปลง Integrate A/D จากการรบกวน
  8. ใช้สายขยายเฉพาะที่อุณหภูมิต่ำๆ และการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิกลางสายน้อย ๆ
  9. ทดสอบและเก็บค่าความต้านทานของเทอร์โมคัปเปิลเก่าๆ ไว้ พร้อมกับวัดค่าความต้านทานของเทอร์โมคัปเปิลเก็บไว้เป็นช่วงๆ

หลักการวัดความต้านทานดิน Earth Ressistivity Measurement


การวัดความต้านทานดิน เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการต่อระบบกราวด์ (Ground) ของระบบไฟฟ้า ซึ่งถ้าระบบกราวด์ในระบบไฟฟ้าไม่ดีแล้วจะทำให้เกิดการเสียหายหลายประการตามมา ในทางตรงกันข้ามถ้าเราหรือช่างไฟฟ้า, วิศวะกรรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ทำการติดตั้งเดินสายตามหลักมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของประเทศไทยแล้วประโยชน์ หรือความปลอดภัยก็จะเกิดขึ้นอย่างมากมาย ซึ่งถ้าวิศวะกรได้จัดทำมาตฐานการติดตั้งไฟฟ้าในประเทศไทยขึ้นเพราะต้องการให้การติดตั้งเดินสายระบบไฟฟ้าเป็นไปอย่างปลอดภัยแก่ผู้ที่ใช้ระบบไฟฟ้าเอง โดยมาตรฐานกำหนดไว้ว่าถ้าต้องมีการต่อหลักดิน ความต้านทานของดินบริเวณนั้นต้องไม่เกิน 5 โอห์ม แต่ในต่างประเทศกำหนดไว้ว่า 2 โอห์ม ถ้าวัดแล้วไม่ได้ต้องมีการปรับสภาพดินก่อน หรือโดยวิธีอื่น ฉะนั้นแล้วจริงๆต้องมีเครื่องมือในการวัดความต้านทานดินดังกล่าว โดยสามารถจำแนกวิธีการวัดพอสังเขปได้ดังนี้

  1. วิธีการวัดความต้านทานดิน (Earth resistance measurement)
    วิธีการวัดความต้านทานดิน
  2. วิธีการวัดความต้านทานดินระหว่างหลักดิน 2 จุด (Measurement of coupling) วิธีการวัดความต้านทานดินระหว่างหลักดิน 2 จุด
  3. วิธีการวัดค่าความต้านทานจำเพาะของดิน (Measurement of earth resistivity วิธีการวัดค่าความต้านทานจำเพาะของดิน

สูตรการคำนวณค่าความต้านทานจำเพาะของดิน โดยปกติแล้วการคำนวณค่าความต้านทานจำเพราะของดินนั้น จะคิดจากจุดกึ่งกลางเครื่องวัด นั่นก็คือจุด o ตามวิธีการวัดที่ 3 p = 2π × R × a

ENERGY SAVING IN LIGHTNG & HVAC WITH HTS PRESENCE DETECTOR


ในยุคปัจจุบันสังคมมนุษย์ไม่อาจปฏิเสธเรื่องการใช้พลังงาน และพลังงานเป็นเรื่องที่อยู่รอบๆ ตัวมนุษย์ทุกคนชีวิตปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อสังคมอุตสาหกรรมกระตุ้นให้คนบริโภคสินค้า ที่มีต่นทุนมาจากกระบวนการใช้พลังงาน ทำให้ความต้องการในการใช้พลังงานเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างไร้ขอบเขต

มีวิธีใดบ้างที่จะประหยัดพลังงานส่วนที่ไม่จำเป็น? เป็นคำถามที่ทุกคนคงมีคำตอบในใจอยู่แล้ว ขึ้นอยู่อยู่กับว่าตัวคุณจะเริ่มทำด้วยตนเอง หรือใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลือ

HTS Presence Detector เป็นเทคโนโลยีของประเทศเยอรมัน เป็นเซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนและความเคลื่อนไหวในตัวเดียวกัน เหมาะสำหรับงานติดตั้งภายในอาคารสำนักงาน, ที่พักอาศัย, สถานที่ออกกำลังกาย หรือบริเวณอื่นๆที่ต้องการควบคุมระบบไฟส่องสว่าง และระบบเครื่องปรับอากาศแบบอัตโนมัติตามสภาวะแวดล้อม

HTS Presence Detector อาศัยหลักการตรวจจับความร้อนและการเคลื่อนไหว โดยใช้เซ็นเซอร์ที่เรียกว่า PIR ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีความสามารถในการตรวจจับรังสีอินฟราเรด ที่แผ่ออกมาจากตัวคนหรือสัตว์ จะมีรังสีความร้อนแผ่ออกมารอบๆ ในปริมาณที่แน่นอนอยู่จำนวนหนึ่ง เมื่อเกิดการเคลื่อนไหว หรือเคลื่อนที่ ก็จะทำให้อุณหภูมิในบริเวณนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้คลื่นรังสีความร้อนที่ว่านี้แผ่กระจายออกมา โดยปกติการแผ่คลื่นรังสีความร้อนจากมนุษย์ จะมีความยาวคลื่นประมาณ 7 - 14 ไมโครเมตร ตามรูปที่ 2

แสดงแถบรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ และมนุษย์

รูปที่ 2 แสดงแถบรังสีความร้อนของดวงอาทิตย์ และมนุษย์

HTS Presence Detector ทำหน้าที่คล้ายกับดวงตาในการเฝ้าคอยตรวจจับความเคลื่อนไหว และการเปลี่ยนแปลงความร้อนที่เกิดขึ้นภายในอาคาร หรือพื้นที่ที่ทำการติดตั้ง เพื่อการควบคุมอัตโนมัติในการสั่งเปิด - ปิดระบบต่างๆ ดังรูปที่ 3

ฟังก์ชั่นการทำงานเบื้องต้นของ HTS Presence Detector

รูปที่ 3 ฟังก์ชั่นการทำงานเบื้องต้นของ HTS Presence Detector

HTS Presence Detector มีฟังก์ชั่นการตรวจจับปริมาณแสงสว่างภายนอก เพื่อนำมาประมวลผลในการสั่งเปิด - ปิดระบบ ทำให้สามารถประหยัดพลังงานส่วนที่ไม่จำเป็นได้ การทำงานภายในจะมีตัวประมวลผลอัจฉริยะ คำนวณปริมาณระดับของแสงสว่างตามที่กำหนด ซึ่งจะแสดงลักษณะการทำงานได้ดังรูปที่ 4

แสดงลักษณะการทำงานของ Day Light Control & Presence

รูปที่ 4 แสดงลักษณะการทำงานของ Day Light Control & Presence

จากรูปที่ 4 จะสังเกตได้ว่า ในขณะที่ไม่มีแสงสว่างจากภายนอก (ดวงอาทิตย์) การทำงานระบบไฟส่องสว่างจะขึ้นอยู่กับความร้อน หรือการเคลื่อนไหวของมนุษย์ที่เคลื่อนไหนอยู่ภายในตัวอาคาร เมื่อแสงส่างภายนอกเริ่มมีปริมาณความสว่างที่เพียงพอ แล้วระบบไฟส่องสว่างจะถูกยกเลิกการทำงาน เพื่อเป็นการประหยัดพลังงานโดยหันมาใช้แสงจากธรรมชาตินั่นเอง ซึ่งข้อดีของ HTS Presence Detector ไม่เพียงแต่ตรวจจับความร้อนหรือความเคลื่อนไหวยังสามารถทำงานตามปริมาณของแสงที่กำหนดไว้ด้วย

นอกจากสามารถควบคุมการทำงาน ตามปริมาณค่าความเข้มของแสงจากสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว HTS Presence Detector ยังสามารถควบคุมความสว่าง ของระบบไฟส่องสว่างได้ (Dimmer) โดยใช้การควบคุมผ่าน Remote Control แสดงการทำงานได้ดังรูปที่ 5

แสดงลักษณะการทำงาน Constant Light Control & Presence

รูปที่ 5 แสดงลักษณะการทำงาน Constant Light Control & Presence

ในส่วนของตัว Remote สั่งงาน สามารถสั่งการเปิด - ปิดระบบได้ ซึ่งระบบในที่นี่อาจจะเป็นระบบไฟส่องสว่าง, ระบบปรับอากาศ, หรือระบบเปิด - ปิด ม่านบังแสงเป็นต้น ขึ้นอยู่กับการนำไป ประยุกต์ใช้งานตัวอย่างดังกล่าว แสดงได้ดังรูปที่ 6

แสดงลักษณะของชุด Remote Control

รูปที่ 6 แสดงลักษณะของชุด Remote Control

นอกจากนี้ในการตั้งค่าความเข็มของแสงสว่างในการควบคุมการทำงานของ HTS Presence Detector สามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วด้วย Remote Control รุ่น Quick set แสดงลักษณะการใช้งานดังรูปที่ 7

แสดงการใช้งาน ชุด Quick set สำหรับการ Set-up การทำงานของตัวเครื่อง

รูปที่ 7 แสดงการใช้งาน ชุด Quick set สำหรับการ Set-up การทำงานของตัวเครื่อง

อ่านต่อ..

ศูนย์รวมเครื่องมือวัดและควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ทุกชนิด

" จากประสบการณ์ที่ยาวนาน ในวงการขายการนำเข้าเครื่องมือวัด และควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ด้วยทีมงานเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาบริการก่อนและหลังการขาย คุณภาพดี มีมาตรฐาน "

บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด จำหน่ายอุปกรณ์อุตสาหกรรมเครื่องมือวัด-เครื่องควบคุมแบบอัตโนมัติ อาทิเช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิและความชื้น, หัววัดอุณหภูมิ, เครื่องนับจำนวน, เครื่องตั้งเวลา, เครื่องทอสอบความเป็นฉนวน, เครื่องวัดแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า, แคลมป์มิเตอร์, มัลติมิเตอร์, มิเตอร์, เทอร์โมมิเตอร์, ฮีตเตอร์, เทอร์โมคัปเปิล, เซนเซอร์ตรวจจับแบบต่างๆ เป็นต้น และยังมี เครื่องจักรบรรจุภัณฑ์, เครื่องซีลสูญญากาศขนาดเล็ก Fresh World

Contact us || บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด

หมวดหมู่สินค้า / Tags Products

Contact us

โทร : 0-2722-2233
แฟกซ์ : 0-2722-2211
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Visit us

80, 82 ถนนพัฒนาการ
แขวง/เขต ประเวศ กรุงเทพฯ 10250
supremelines.co.th

Office hours

Mon. - Fri. | 08.00 17.30
facebook/supremelines
LINE@: @supremelines

ติดต่อเรา Supremelines โปรโมชั่นสินค้า Catalog Heater Online