มิเตอร์ทดสอบเอนกประสงค์ (function generator)
"มิเตอร์ทดสอบเอนกประสงค์ (function generator) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างสัญญาณไฟฟ้า ที่มีค่าและลักษณะต่าง ๆ ในการทดสอบและประยุกต์ใช้ในงานทางวิทยุ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะที่ทำให้สามารถปรับค่าไฟฟ้าได้ตามความต้องการ วันนี้ทาง สุพรีมไลนส์ จะขอแนะนำ มิเตอร์ทดสอบเอนกประสงค์ MULTI FUNCTION TESTER เป็นมิเตอร์ที่วัดค่าทางไฟฟ้าหลายฟังก์ชั่นในมิเตอร์ตัวเดียวกัน แบ่งกลุ่มของมิเตอร์ได้ ดังนี้
- มัลติฟังก์ชั่น มิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า Digital Insulation Tester + มิเตอร์วัดค่าความต่อเนื่อง Continuity Tester + มิเตอร์วัดค่าความต้านทานของระบบลูป (Loop Resistance Tester) และ RCDs ได้ในตัวเดียวกัน (ตัวอย่างของมิเตอร์คือรุ่น KEW 6516 KEW 6516BT)
- ค่าความเป็นฉนวน + ค่าความต่อเนื่อง + ค่าความต้านทานของสายดิน (Earth Loop Impedance) + ค่า PSD, Prospective Short Circuit Current หรือค่ากระแสลัดวงจร ณ จุดวัด (ถ้าเกิด fault ลงดิน) + ค่าเวลาที่ใช้ในอุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว RCD/ELCB ใช้ในการทริปตัดวงจร
- มัลติฟังก์ชั่นที่วัดค่าได้ 8 ฟังก์ชั่น (ชนิด) คือ เพิ่มจากมัลติฟังก์ชั่นรุ่น ในข้อ 2. อีก 3 ฟังก์ชั่นคือ วัดค่าความต้านทานของดิน + การหมุนของเฟส Phase Rotation + วัดค่าแรงดันไฟฟ้า
- มัลติมิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า + ค่าความต้านทานดิน + ค่าแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ คือมัลติฟังก์ชั่นมิเตอร์
หลักการเลือกใช้ (TEMPERATURE CONTROLLER)
วิธีการเลือกใช้ Temperature Controller เราจำเป็นจะต้องรุ้ข้อมูลเบื้องต้น
* แหล่งจ่ายไฟ : 110V /240V หรือ 24VDC
* ช่วงวัดอุณหภูมิที่ใช้งาน เช่น 0-600C หรือ-50-300C
* ชนิดเอาท์พุต เช่น รีเลย์ แรงดัน ลีเนียร์ SSR
* ระบบการควบคุม ON/OFF PID FUZZY
*ชนิดอินพุต เช่น เทอร์มอคับเปิ้ล PT100 เทอร์มิสเตอร์
* ขนาดตัว Temperature Controller
FY-400 ขนาด 48x48
FY-600 ขนาด 96x48
FY-700 ขนาด 72x72
FY-800 ขนาด 48x96
FY-900 ขนาด 96x96
* จำนวนเอาท์พุต อลาร์ม ที่ต้องการ
* Communication : RS485 ,กระแส 4-20mA โปรแกรม RAMP/SOAK
คุณสมบัติ Temperature Controller FY Series
รุ่น
|
FY-400
|
FY-600
|
FY-700
|
FY-800
|
FY-900
|
ขนาด
|
48x48มม
|
96x48มม
|
72x72มม
|
48x96มม
|
96x96มม
|
อินพุต (input)
|
เทอร์มอคัเปิ้ล K,J,R,S,B E N T W5RE/W26RE ,PL2 U L
อาร์ที่ดี PT100 JPT100 JPT50
แรงดัน 0-10V 0-5V 0-10V 1-5V 2-10V-10-10mV 0-20mV 0-50mV 10-50mV
|
หน่ายความจำ
|
Non-volatile memory E PROM
|
ความแม่นยำ
|
0.2% FS
|
เวลาการสุ่มสัญญาณ
|
250ms
|
ย่าน PID
|
P : 0-200% I : 0-3600 Secs D : 0-900 Secs
|
เอาต์พุต
|
รีเลย์
|
SPST3A220V
|
SPDT3A 220V
|
SPDT 3A 220V
|
PDT 3A 220V
|
PDT 3A 220V
|
พัสส์
|
สำหรับขับ SSR ON :24V OFF :OV ขับกระแสโหลดสูงสุด 560 Ω
|
กระแส
|
4-20mA 0-20mA ความต้านทานโหลดสูงสุด 20mA
|
แรงดัน
|
แรงดัน 0-10V 1-5V 2-10V ขับกระแสโหลดสูงสุด 20mA
|
อลาร์ม 1
|
SPST3A220V
|
SPST3A220V
|
SPST3A220V
|
SPST3A220V
|
SPST3A220V
|
แรงดันไฟเสี้ยง
|
AC 85-265V 50-60Hz
|
สิ้นเปลื่องพลังงาน
|
ประมาณ 3VA
|
ประมาณ 4VA
|
ประมาณ3VA
|
ประมาณ 4VA
|
ประมาณ 4VA
|
น้ำหนัก
|
150 กรัม
|
225กรัม
|
225กรัม
|
225กรัม
|
300กรัม
|
การควบคุมแบบอัตโนมัติ (Automatic Control)
การควบคุมแบบดั้งเดิมที่เป็น Manual Control คือ ใช้มนุษย์เป็นผู้ควบคุมทั้งหมด เช่น ปิด-เปิด วาล์วเองกดสวิตช์ หรือ ปุ่มจ่ายไฟเอง ในบัจจุบันได้ถูกแทนที่ด้วยการควบคุมแบบอัตโนมัตแล้วทั้งสิ้นเนื่องจากมีต้นทุนต่ำกว่า และมีเสถียรภาพสูงกว่า การควบคุมดังกล่าวจะเป็นลักษณะของการควบคุมแบบป้อนกลับ (Feedback Control) คือ มีการวัดและส่งค่าที่วัดกลับมายังส่วนควบคุม เพื่อคำนวณ และจ่ายสัญญาณควบคุมที่เหมาะสมไปยังอุปกรณ์ใช้งาน จากที่กล่าวมาการควบคุมแบบอัตโนมัติ จะต้องประกอบด้วย 3 ภาคเสมอ คือ
- ภาคการวัด
เช่น เทอร์โมคัปเปิล, หัววัดความชื้น มีหน้าที่วัดค่าที่โพรเซสแล้วส่งมายังภาคควบคุม
- ภาคควบคุม
เช่น เครื่องควบคุมอุณหภูมิ มีหน้าที่รับค่าจากภาควัด นำมาคำนวณแล้วส่งให้ภาคจ่าย
- ภาคจ่าย
เช่น ระบบทำความร้อน ตัวจ่าย คือ ฮีตเตอร์ ในระบบควบคุมอัตราการไหล ตัวจ่ายคือ วาล์วเป็นต้น มีหน้าที่เพีอหรือลดค่าที่ควบคุมอยู่ บางครั้งก็เรียกตัวจ่ายเหล่านี้ว่า Final Element
กำหนดให้
- SP คือ Setpoint หรือ ค่าที่ต้องการควบคุม เช่น ต้องการต้มน้ำที่ 100 C
- PV คือ Process Variable หรือ ค่าที่วัดมาจาก โพรเซส เช่น อุณหภูมิในถังน้ำที่อุณหภูมิปกติเป็น 30 C
- MV คือ Manipulated Variable หรือ สัญญาณควบคุมที่เครื่องควบคุมคำนวณได้มีหน่วยเป็น % (0-100 %)
- E คือ Error หรือ ผลต่างระหว่างค่าที่ต้องการควบคุมกับค่าที่วัดได้ (E = SP-PV)
การควบคุม
- การควบคุมแบบ ON/OFF
ใช้การ On/Off เมื่ออุณภูมิต่ำหรือสูงกว่า Set Point ค่า Error ของอุณหภูมิของค่า Pv จากค่า Set Point เพียงเล็กน้อย
- การควบคุมแบบ PID
ทำให้ค่า PV เกิด ค่า Error จาก Set Point น้อยมาก
- การควบคุมแบบ PD
มีลักษณะคล้าย PID แต่ประสิทธิภาพด้อยกว่า
- การควบคุมแบบ 2-PD
ควบคุมคล้าย PID เพิ่มความาสามารถคาดเดาค่าอุณหภูมิจริงที่เกิดขึ้นได้ ค่า PV ทำให้สามารถควบคุม ค่า PV ได้แม่นยำขึ้น
- การควบคุมแบบ FUZZY
ค่า PV มีค่าใกล้เคียงค่า Set Point หากมีการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ค่า PV เปลี่ยนแปลงจากค่า Set Point ฟังก์ชั่นนี้จะช่วยปรับค่า PV ใกล้เคียงกับค่า Set Point
อ่านต่อ..
เทอร์โมคัปเปิล (Thermocouple)
เทอร์โมคัปเปิล คือ อุปกรณ์วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิหรือความร้อนเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้า เทอร์โมคัปเปิลทำมาจากโลหะตัวนำที่ต่างชนิดกัน 2 ตัว นำมาเชื่อมต่อปลายทั้งสองเข้าด้วยกันที่ปลายด้านหนึ่ง เรียกว่าจุดวัดอุณหภูมิส่วนปลายอีกด้านหนึ่งปล่อยเปิดไว้ เรียกว่าจุดอ้างอิงหากจุดวัดอุณหภูมิ และจุดอ้างอิงมีอุณหภูมิต่างกันก็จะทำให้มีการนำกระแสในวงจรเทอร์โมคัปเปิลทั้งสองข้าง โดยเรียกอุณหภูมิคงที่ที่ใช้อ้างอิงนี้ว่า Reference Junction และได้มีการกำหนด Reference Junction ให้เป็น 0 °C
หลักการทำงานของเทอร์โมคัปเปิล Reference Junction
หลักการทำงานของเทอร์โมคัปเปิล คือ อาศัยความแตกต่างของอุณหภูมิในการสร้างแรงเคลื่อนไฟฟ้าขึ้น การที่แรงเคลื่อนไฟฟ้าค่าหนึ่งจะอ้างอิงเป็นอุณหภูมิค่าหนึ่งได้ แสดงว่าความแตกต่างของอุณหภูมิที่เกิดขึ้นนั้นจะต้องอ้างอิงกับอุณหภูมิค่าคงที่ค่าหนึ่งเสมอ โดยเรียกอุณหภูมิคงที่ที่ใช้อ้างอิงนี้ว่า Reference Junction และได้มีการกำหนด Reference Junction ให้เป็น 0 °C เพื่อให้การวัดอุณหภูมิเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และกำหนดเป็นตารางมาตรฐานแสดงค่าอุณหภูมิเทียบกับแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่วัดได้ แต่โดยทั่วไป เทอร์โมคัปเปิลจะทำการวัดที่อุณหภูมิห้อง (เช่น 25°C) นั่นคือไม่ได้เทียบกับ 0 °C แสดงว่าค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ได้ยังไม่ถูกต้อง หากนำไปอ่านค่าอุณหภูมิจากตารางมาตรฐานจะผิดพลาด จึงจำเป็นต้องมีการรักษา Reference Junction เพื่อให้การวัดอุณหภูมิเทียบกับ 0 °C ตลอดเวลา การรักษา Reference Junction ด้วยน้ำแข็งบริสุทธิ์
นำจุดต่อจุ่มลงในน้ำแข็งก่อนนำเข้าอุปกรณ์อ่านค่าอุณหภูมิ เพื่อให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ได้ เกิดจากการวัดอุณหภูมิเทียบกับ 0 °C จริงๆ แต่วิธีนี้เหมาะสำหรับการทดลองในห้องปฏิบัติการ ควรถ่ายน้ำออกเป็นระยะๆ และเติมน้ำแข็งไปด้วย ไม่สามารถใช้ในงานอุตสาหกรรมได้เนื่องจากการวัดอุณหภูมิในอุตสาหกรรม เป็นการวัดที่ต่อเนื่องตลอดเวลา และวิธีนี้ไม่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่าอุณหภูมิ ณ จุดต่อ เป็น 0 °C จริงๆ ได้ตลอด
การรักษา Reference Junction ด้วยวงจรไฟฟ้าแบบ Bridge
วิธีนี้ใช้ความต้านทานที่เปลี่ยนค่าตามอุณหภูมิ (Temperature Sensitive Resistor) Rt เช่น RTD หรือ Thermistor ต่อไว้ในวงจร Bridge เป็นตัวชดเชยอุณหภูมิห้องที่เปลี่ยนไป ค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่อุปกรณ์อ่านค่าอุณหภูมิได้รับจะมาจาก 2 ส่วนรวมกัน คือ แรงเคลื่อนไฟฟ้าจากเทอร์โมคัปเปิล ที่เกิดจากผลต่างอุณหภูมิระหว่างอุณหภูมิที่จะวัดกับอุณหภูมิห้อง และแรงเคลื่อนไฟฟ้าชดเชยอุณหภูมิห้องจาก Rt ซึ่งเสมือนกับเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เกิดจากผลต่างอุณหภูมิระหว่างอุณหภูมิห้องกับ 0 °C นั่นคือ แรงเคลื่อนไฟฟ้ารวม จะมีค่าเท่ากับอุณหภูมิที่จะวัดเทียบกับ 0 °C นั่นเอง
หมายเหตุ : วงจรไฟฟ้าแบบ Bridge ดังกล่าวจะมีอยู่ในเครื่องวัดอุณหภูมิที่รับเทอร์โมคัปเปิลได้ทุกยี่ห้ออยู่แล้ว ผู้ใช้งานสามารถต่อเทอร์โมคัปเปิลเข้ากับขั้วต่อสายได้เลย
อ่านต่อ..